วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข้อแนะนำอันเป็นประโยชน์ในการใช้สังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter, ไลน์ และ YouTube

รวมลิ้ง เพื่อน ๆ ๆ ๆ 55/11
รวมริ้งของเพื่อนๆ 55/11 
http://superfei343.blogspot.com/ นางสาวศิริพร เสนทา
 http://jiraporn311.blogspot.com/ นางสาวจิราภรณ์ เอี่ยมสอาด
 http://thipsiri20.blogspot.com/ นางสาว ทิพย์ศิริ บัวจูม
 http://nattavadee316.blogspot.com/ นางสาวณัฐวดี โชคกล้า
 http://sawitree0346.blogspot.com/ นางสาวสาวิตรี ดอนเจดีย์
 http://karuntarat.blogspot.com/ นางสาว กรัลธรัตน์ อ่อนจันทร์งาม
 http://nonglek0324.blogspot.com/ นางสาว น้องเล็ก -
 http://neranut327.blogspot.com/ นางสาว นีรนุช สุทธิประภา 
http://supaporn350.blogspot.com/ นางสาวสุภาภรณ์ เขียวชอุ่ม 
http://aruni355.blogspot.com/ นางสาว อรุณี ปรางเทศ 
http://kantanat302.blogspot.com/ นายกันตณัฐ บุญประเสริฐ 
http://kuauma304.blogspot.com/ นางสาว กุสุมา รามภาพ
 http://marisa0335.blogspot.com/ นางสาว มาริสา ด้วงสิงห์ 
http://titiporn15.blogspot.com/ นางสาวฐิติพร สารสุววรณ 
http://jaaranan312.blogspot.com/ นางสาวจีรนันท์ จันทบุตร 
http://meaw56.blogspot.com/ นางสาว วิภารัตน์ แสงวรราช 
http://mintgolf0345.blogspot.com/ นางสาว ศุภัชญา เหมือนเทียน 
http://jirapa5507.blogspot.com/ นางสาวจิรภา หอมคง
 http://kedruthai306.blogspot.com/ นางสาว เกษฤทัย ทองบ่อ
 http://thatiya19.blogspot.com/ นางสาวตติยา ชงกรานต์ทอง 
http://nootchanard028.blogspot.com/ นางสาวนุชนารถ จันทร์แก้ว 
http://napaporn321.blogspot.com/ นางสาว นภาพร ศรีวิเชียร
 http://aumaporen356.blogspot.com/ นางสาว อุมาภรณ์ ดอกชะเอม
 http://jariwan307.blogspot.com/ นางสาวจริวรรณ สุวรรณ
 http://patchree32.blogspot.com/ นางสาว พัชรี วิมลศรี 
http://jiranan309.blogspot.com/ นางสาวจิรนันท์ เฮงจู
 http://onanong0353.blogspot.com/ นางสาวอรอนงค์ รื่นเริงใจ
 http://minta2404.blogspot.com/ นางสาวมินตา พุฒิเอก
http://thippayanipa357.blogspot.com/ น.ส.ทิพยนิภา คัมภิรานนท์ 
http://suparat344.blogspot.com/นางสาวศุภรัตน์ แคน้อย
 http://piyanet331.blogspot.com/ นางสาวปิยเนตร ทำดี
 http://dungdao317.blogspot.com/ นางสาวดวงดาว แก้วโต
 http://pennapa333.blogspot.com/ นางสาว เพ็ญนภา หอมจันทร์ 
http://nipaporn5326.blogspot.com/ นางสาว นิภาพร สนนารี
 http://sutida0348.blogspot.com/?m=1 นางสาว สุธิดา คงสมบัติ
 http://pimsupanee.blogspot.com/ นางสาวสุภาณี ปุ้ยทองดี
 http://sichon047.blogspot.com/ นายสิชล ชัยโชค 
http://worawan1020.blogspot.com/ นางสาววรวรรณ ปราบพาล 
http://yongpukpimol334.blogspot.com/ นางสาวภัคพิมล มั่นแก่น 
http://rawiwan2537.blogspot.com/ นางสาวรวิวรรณ เกตุเรืองโรจน์ 
http://suwanan351.blogspot.com/ นางสาวสุวนันท์ นุชพูล
 http://naruemon23.blogspot.com/ นางสาว นฤมล แข็งฤทธิ์
 http://numthim325.blogspot.com/ นางสาวน้ำทิพย์ มารวงษ์
 http://kingkaew303.blogspot.com/ นางสาว กิ่งแก้ว ห้าวเหิม
 http://supaporn350.blogspot.com/นางสาวดารกา บูชา 
ผู้จัดการรวบรวม นางสาวกิ่งแก้ว ห้าวเหิม รหัส 554110303





ข้อแนะนำอันเป็นประโยชน์ในการใช้สังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter, ไลน์ และ YouTube


ปัจจุบันนักธุรกิจแอมเวย์จำนวนมากใช้ช่องทางของสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter, My Space และ YouTube เพื่อสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังสะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมากอีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้นักธุรกิจแอมเวย์ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เรามีข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อทุกท่านดังนี้

1. การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ท่านควรตั้งค่าความเป็นส่วนตัวกับสื่อสังคมของท่าน เพื่อควบคุมผู้ที่สามารถเข้ามาเห็นรูปภาพ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลที่ถูกปรับปรุง และผู้ที่จะติดตามเรื่องราวของท่านผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ขอแนะนำให้ท่านตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเฉพาะเพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมงานของท่านเท่านั้นที่สามารถเห็นข้อมูลที่ท่านเขียน/โพสต์บนกระดานข้อความ แต่สำหรับสื่อสังคมออนไลน์บางประเภท เช่น Twitter ซึ่งนำมาใช้เพื่อแบ่งปันข้อมูลที่ไม่มากนัก เมื่อท่านเข้าร่วมในช่องทางนี้ กรุณาคำนึงถึงจรรยาบรรณและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับการเชิญชวนในที่สาธารณะเพื่อปกป้องชื่อเสียงของบริษัทและตัวท่านเอง

2. การใช้ภาพแบรนด์และโลโก้แอมเวย์ บริษัทไม่อนุญาตให้แสดงภาพแบรนด์ โลโก้แอมเวย์ หรือโลโก้และภาพผลิตภัณฑ์ของแอมเวย์ในสื่อสังคมออนไลน์ ขอแนะนำให้ใช้รูปภาพของตัวท่านเอง เพื่อแสดงความเป็นมืออาชีพของท่านให้ผู้อื่นได้เห็นและเกิดความน่าเชื่อถือ

3. การตั้งชื่อหน้าเว็บของท่าน บริษัทไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าในสื่อสังคมออนไลน์ ขอแนะนำให้ท่านใช้ชื่อเต็มของตัวท่านเอง เนื่องจากผู้อ่านมักต้องการจดจำชื่อจริงของท่านมากกว่านามแฝง
 
4. ความโปร่งใส ถูกต้อง และซื่อสัตย์ ควรยึดถือการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และควรหลีกเลี่ยงข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจที่บิดเบือน เช่น การกล่าวอ้างเรื่องธุรกิจและผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ โดยข้อมูลเรื่องธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ต้องผ่านการอนุญาตหรือรับรองจากแอมเวย์เท่านั้น
 
5. สื่อวีดิทัศน์ สื่อวีดิทัศน์ที่ไม่ได้ผลิตโดยบริษัทต้องผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตจากบริษัทก่อนนำไปใช้ในสื่อสังคมออนไลน์

6. การสร้างผู้มุ่งหวังเพื่อโอกาสทางธุรกิจ การสร้างผู้มุ่งหวังด้วยการเชิญชวนเพื่อนของท่านหรือผู้ติดตามให้ติดต่อท่านในเรื่องโอกาสทางธุรกิจบนสื่อสังคมออนไลน์หรือ Social network สามารถกระทำได้หากท่านตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนสื่อออนไลน์อย่างปลอดภัยแล้ว เช่น หากตั้งค่าความเป็นส่วนตัวใน Facebook ว่ายอมให้เพื่อนของท่านเท่านั้นที่เห็นข้อความที่ท่านโพสต์ (ไม่ใช่ “เพื่อนของเพื่อน” หรือ “ทุกคน”)  ท่านอาจเชิญพวกเขาให้ติดต่อท่านเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเขาแสดงความสนใจ ท่านควรติดต่อพวกเขาเป็นการส่วนตัวเพื่อให้ข้อมูลทางธุรกิจโดยละเอียดต่อไป

7. การสร้างผู้มุ่งหวังให้เป็นลูกค้า ใช้กฎเดียวกับการสร้างผู้มุ่งหวังเพื่อโอกาสทางธุรกิจ สำหรับการสร้างฐานลูกค้าออนไลน์ของท่านให้กลายเป็นลูกค้าต้องใช้วิธีการแบบปิดเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ขัดต่อระเบียบปฏิบัติเรื่องการโฆษณาของแอมเวย์
 
8. การข้ามสายงาน มีเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในโลกสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อท่านบังเอิญพบนักธุรกิจแอมเวย์ที่อยู่คนละสายการสปอนเซอร์ที่อาจจะมิได้เห็นพ้องต้องกันในบางเรื่อง หากเป็นเช่นนี้ ขอแนะนำให้แจ้งอัพไลน์ของท่านเพื่อขอความช่วยเหลือ กรุณาอย่าใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางในการโต้เถียงหรือโต้ตอบอย่างยืดยาว หรือแม้แต่การส่งข้อความถึงนักธุรกิจแอมเวย์ท่านอื่นๆ โดยตรงที่เกี่ยวกับสายงานของท่าน แม้ว่าท่านอาจอยู่คนละสายงาน แต่ท่านทั้งสองก็มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจแอมเวย์เช่นเดียวกัน เพียงแต่ท่านมีแนวทางไปสู่เป้าหมายที่แตกต่างกันเท่านั้น

9. ชื่อเสียง สื่อสังคมออนไลน์มีประโยชน์ในการสร้างชื่อเสียงให้กับแอมเวย์ รวมถึงตัวท่านเช่นกัน หากท่านปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้นและไม่สร้างขยะในโลกออนไลน์ หรือไม่โพสต์ข้อความที่แสดงการขายอย่างโจ่งแจ้งในสื่อสังคมออนไลน์ของท่าน ก็เสมือนท่านได้ประกาศให้สังคมรับรู้ว่า  นักธุรกิจแอมเวย์ก็คือคนธรรมดาที่พบเห็นได้ทั่วไป เป็นผู้ที่มีความห่วงใยและมีความฝันเช่นเดียวกับผู้อื่น ทั้งยังมีความรู้มากมายและมีความปรารถนาดีต่อสังคมอีกด้วย
 

เรื่องความรู้เกี่ยวกับ Web Application, Search Engine



1. ความหมายของ Web Application

               คือ การพัฒนาระบบงานบนเว็บ ซึ่งมีข้อดีคือ ข้อมูลต่าง ๆ ในระบบมีการไหลเวียนในแบบ Online ทั้งแบบ Local (ภายในวงLAN) และ Global (ออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการข้อมูลแบบ Real Time ระบบมีประสิทธิภาพ แต่ใช้งานง่าย เหมือนกับท่านทำกำลังท่องเว็บ ระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาจะตรงกับความต้องการกับหน่วยงาน หรือห้างร้านมากที่สุด ไม่เหมือนกับโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป ที่มักจะจัดทำระบบในแบบกว้าง ๆ ซึ่งมักจะไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง ระบบสามารถโต้ตอบกับลูกค้า หรือผู้ใช้บริการแบบ Real Time ทำให้เกิดความประทับใจ เครื่องที่ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น

ตัวอย่างระบบงานที่เหมาะกับเว็บ แอพพลิเคชั่น เช่น ระบบการจองสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เช่น การจองที่พัก การจองโปรแกรมทัวร์ การจองแผ่น CD-DVD ฯลฯ ระบบงานบุคลากร ระบบงานแผนการตลาด ระบบการสั่งซื้อแบบพิเศษ ระบบงานในโรงเรียน เช่น ระบบงานวัดและประเมินผล ระบบงานปกครอง ระบบงานห้องสมุด ระบบการลงทะเบียน เช็คเกรด ฯลฯ ระบบงานอื่น ๆ ที่ต้องการนำข้อมูลมา Online


ค่าใช้จ่ายในการทำเว็บ แอพพลิเคชั่น ปกติจะใช้วิธีการคำนวณจากขอบเขตของระบบงาน และปริมาณของข้อมูลที่ไหลเวียนในระบบ รวมถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ ซึ่งทางเว็บ โปรแกรมเมอร์จะคำนวณราคาออกเป็นงาน ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ต่อไปนี้รวมกัน ค่าจัดทำระบบงาน ค่าชื่อโดเมน และ Web Hosting (ในกรณีจะนำระบบออกทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ค่าบริการหลังการขาย ค่าHardware และอุปกรณ์ด้านเครือข่าย เพิ่มเติม อื่น ๆ
2. ลักษณะการทำงานของ Web Application

            การทำงานของ Web Application นั้นโปรแกรมส่วนหนึ่งจะวางตัวอยู่บน Rendering Engine  ซึ่งตัว Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือนำเอาชุดคำสั่งหรือรูปแบบโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแสดงผล  นำมาแสดงผลบนพื้นที่ส่วนหนึ่งในจอภาพ โปรแกรมส่วนที่วางตัวอยู่บน Rendering Engine จะทำหน้าที่หลักๆ คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่แสดงผล   จัดการตรวจสอบข้อมูลที่รับเข้ามาเบื้องต้นและการประมวลบางส่วนแต่ส่วนการทำงานหลักๆ จะวางตัวอยู่บนเซอร์เวอร์  ในลักษณะ Web Application แบบเบื้องต้น

           ฝั่งเซิร์ฟเวอร์จะประกอบไปด้วยเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับไคลเอนต์ตามโปรโตคอล  HTTP/HTTPS  โดยนอกจากเว็บเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ส่งไฟล์ที่เกี่ยวเนื่องกับการแสดงผลตามมาตรฐาน HTTP ตามปกติทั่วไปแล้ว   เว็บเซิร์ฟเวอร์จะมีส่วนประมวลผลซึ่งอาจจะเป็นตัวแปลภาษา เช่น Script Engine ของภาษา PHP  หรืออาจจะมีการติดตั้ง .NET Framework ซึ่งมีส่วนแปลภาษา CLR (Common Language Runtime) ที่ใช้แปลภาษา intermediate จากโค้ดที่เขียนด้วย VB.NET หรือ C#.NET  หรืออาจจะเป็น J2EE  ที่มีส่วนแปลไบต์โค้ดของคลาสที่ได้จากโปรแกรมภาษาจาวา เป็นต้น  



3. ความแตกต่างระหว่าง Web Application กับ Web Services

          ต่างกัน อันเนื่องจากจุดกำเนิด และ จุดประสงค์ของทั้งสองอย่างนั้น  Web Services นั้นเกิดมาจากการที่ Web Application ถูกพัฒนาได้จากหลาย ภาษา เช่น asp jsp php perl .... ทำให้การที่จะนำมารวมเพื่อร่วมทำงานด้วยกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก (เหมือนคุยกันคนละภาษา) Web Services จึงเหมือนกับภาษาสากล ที่ทำให้แต่ละ Web Application ทำงานร่วมกันได้ โดยผ่าน SOAP ที่มี รูปแบบเป็น XML ซึ่งเป็นเหมือนภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Web Services นั้น มีหลายตัว อาทิ เช่น AXIS วิธีทำนั้นก้อไม่ยาก ยิ่งถ้าใช้ IDE จะง่ายมากแค่ คลิ้กๆ ไม่กี่ทีก้อเสร็จแล้ว ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่การสร้าง แต่กลับอยู่ที่การนำไปใช้มากกว่า

             จากประสบการณ์ ณ ขณะนี้ ที่ใช้อยู่ พบปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากว่า SOAP นั้น จะวิ่งอยู่บน HTTP .... ทำให้ต้องเสียoverhead ในการ encode และ decode ข้อมูล (ถึงแม้ จะไม่กี่ millisecond ก้อตาม แต่เมื่อรวมกันเยอะๆ ก้อเป็น วินาที เหมือนกัน) ยิ่งถ้า บน HTTPS ละก้อไม่ต้องพูดถึงเลย จึงอยากจะบอกไว้ว่า ถ้าต้องการพัฒนา application ที่ต้องการความเร็วแล้ว ขอให้คิดมากๆ ก่อนที่จะใช้ Web Services



4. ยกตัวอย่าง web application ที่สนใจ (รายละเอียดของระบบจุดเด่นจุดด้อยหากจะพัฒนาต่อจะพัฒนาต่ออย่างไร ใช้ภาษาอะไร เครื่องมืออะไร ฯลฯ)


Google Documents

         Web Application ฟรีของ Google ที่สามารถสร้างเอกสาร Word processor ตารางการคำนวณ งานนำเสนอ ได้ฟรีโดยที่เราไม่ต้องลงโปรแกรมอะไรในเครื่องเลยขอให้มี web browser ก็พอ
เพียงแค่ใช้ Browser เข้าไปที่ http://docs.google.com ตามหลักแล้วผู้ต้องการใช้งานโปรแกรมจะต้องมีบัญชี email ของ gmail ก่อนเพื่อระบุว่าใครเป็นเจ้าของเอกสาร (รวมถึงการเข้าใช้งานบริการอื่นๆของ Google ) อันนี้ไม่ขอยืนยันนะครับ เนื่องจาก browser ที่ผมใช้นั้นมัน login เข้าบัญชี gmail ตลอดเวลาอยู่แล้ว

เอกสารที่สร้างขึ้นจะถูกจัดเก็บบนพื้นที่ Google Drive (อีกหนึ่งบริการจาก Google ) เป็นหลัก  เอกสารนี้สามารถใช้ร่วมกับคนอื่นๆได้ เราสามารถที่จะ download เอกสารที่สร้างขึ้นกลับมาไว้ที่เครื่องเราได้เหมือนกัน ในรูปแบบไฟล์หลายๆรูปแบบ (ในกรณีที่ไม่ต้องการให้บุคคลอื่นเห็นไฟล์งาน สามารถตั้งค่าผ่าน Google Drive ได้เช่นกัน)

โปรแกรม Word processing สามารถ ใช้รูปแบบตัวอักษร แทรกภาพ แทรกตารางได้สบายๆ
การใช้งานก็คล้ายๆกับ การใช้งานโปรแกรม OpenOffice หรือ MSOffice นั่นเอง แต่แน่นอนว่าความสามารถน้อยกว่า

-จุดเด่น ของระบบคือการทำงานเอกสารได้โดยไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมลงอยู่บนเครื่อง นั้นหมายความว่าหากลืมเอา Notebook ส่วนตัวมา เพียงแค่หาร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ และใช้ gmail log in  เข้าใช้บริการ Web Application อย่างการสร้างเอกด่วน หรือดาว์นโหลดเอกสารได้ทันที

-ข้อเสีย สำหรับบริการนี้คือ คุณจำเป็นต้องมี gmail และยิ่งการ log in เข้าใช้บริการของ google  นั้น หลายต่อหลายครั้งคนมักจะลืมSign Out  ดังนั้นหากมีบุคคลอื่นเข้ามาใช้งานเครื่องคอมของคุณ เค้าจึงเข้าถึงทุกไฟล์เอกสาร รวมไปถึงทุกบริการของ Google ได้ด้วย ( Google ใช้ account เดียวก็สามารถเข้าถึงได้ทุกบริการของ Google )

-การต่อยอด บริการ Google Documents เนื่องจากที่กล่าวไว้ด้านบนคือ ความสามารถในการจัดการเอกสารยังน้อยเมือเทียบกับMSOffice ดังนั้นการต่อยอดอาจจะเป็นการเพิ่ม feature ใหม่ๆให้กับ Google Documents (แน่นอนว่าต้องจ่ายเพิ่ม) เพื่ออัพเกรดเป็นGoogle Documents Pro สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการใช้ Google Documents ที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่า MSOffice 

- ใช้ภาษา php+javascript  ในการปรับปรุงรูปแบบ Google Documents Pro ให้มีความสามารถเทียบเท่าหรือมากกว่า MSOffice 






1. WAP  หรือ  Wireless  Application  Protocol  คือมาตราฐานกำหนดวิธีในการเข้าถึงข้อมูล  และบริการ
                  อินเตอร์เน็ตของอุปกรณ์ไร้สายเช่น  โทรศัพท์มือถือและเครื่อง  PDA วิธีการเข้าถึงข้อมูลของ  WAP  มีลักษณะการ
                  เข้าถึงอินเตอร์เน็ตของคอมพิวเตอร์ทั่วไป  กล่าวคืออุปกรณ์พกพาจะมีซอฟต์แวร์บราวเซอร์ซึ่งจะเชื่อมต่อเข้ากับ
                  เกตเวย์ของ WAP  (  ซอฟต์แวร์  ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ฝั่งผู้ให้บริการระบบเครือข่ายซึ่งจะมีการส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายไร้
                  สาย  )  และร้องขอข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์บนอินเตอร์เน็ต  ผ่านทาง  URL  ปรกติ  โดยที่ข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ไร้
                  สายนี้สามารถเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์เครื่องใดก็ได้บนอินเตอร์เน็ต  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์
                  พกพาขนาดเล็ก  ที่มีหน้าจอขนาดเล็กและมีแบนวิดธ์ต่ำ  โดยเฉพาะข้อมูลเหล่านี้จะเขียนขึ้นโดยภาษา  เฉพาะของ                  WAP  มีชื่อเรียกว่า  WML ( Wireless Markup Language )
                       ในปี  1997 WAP  เกิดขึ้นจากการจับมือของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ที่จับมือกันเป็นองค์กรที่มีชื่อว่า                WAP Forum  ไม่ว่าจะเป็นบริษัท  Nokia , Ericsson , Motorola และเว็บไซต์ Phone.com  และปัจจุบันมีผู้ใช้
                บริการ WAP  ผู้ให้บริการ  ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์  รวมกว่า  100  ล้านรายทั่วโลก
                                        จุดเด่นของ WAP  ประกอบด้วย  
                                      - ไม่ต้องใช้วิธีการพิเศษเพื่อเข้าถึงข้อมูลและบริการ WAP  แต่อย่างใด
                                      - ไม่ขึ้นกับระบบเครือข่าย WAP  สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายชั้นนำอย่าง  CDPD , CDMA ,                                         GSM , PDC , PMS , TDMA , FLEX ,ReFLEX , IDEN , DECT , DataTAC , Mobitex
                                         และเครือข่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่าง  GPRS  และ 3G ได้
                                      - โทรศัพท์มือถือกว่า  95  เปอร์เซ็นต์  จากผู้ผลิตชั้นนำในปัจจุบัน  สามารถใช้งานกับ WAP ได้
                                      - เบราเซอร์ WAP  สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น  PaimOS , EPOC ,                                        Windows CE , FLEXOS ,  OS/ 9 , JavaOS และอื่น ๆ
                                              และต่อไปนี้คืออุปกรณ์ที่ช่วยให้คุณใช้งาน WAP

2.
UploadImage
บางท่านอาจเรียก Wi-Fi ( อ่านว่า วาย-ฟาย ) แต่เพื่อนเรียก Wireless ( อ่านว่า วาย-เลส ) บางท่านเรียก Wireless โดนเพื่อนด่าว่าโง่ ต้องเรียก Wi-Fi เอ๊ะ แล้วมันคืออะไร ที่นี่จะอธิบายแบบง่าย ๆ ให้ฟังครับ

Wi-Fi หรือ Wireless หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กรหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ระบบ เครือข่ายไร้สาย ( Wireless LAN : WLAN ) หมายถึงเทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ รวมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย คอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น
ระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่าน อากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทยุ (Radio) หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้

การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สายมีมาตราฐาน IEEE802.11 เป็นมาตราฐานกำหนดรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งมาตราฐานแต่ละตัวจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันใน การสื่อสารข้อมูล เช่น 802.11b และ 802.11g ที่ความเร็ว 11 Mbps และ 54 Mbps ตามลำดับ และขอบเขตของสัญญาณคลอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100 เมตรในพื้นที่โล่งและประมาณ 30 เมตรในอาคาร ซึ่งระยะทางของสัญญาณมีผลกระทบจากสิ่งรอบข้างหลายๆ อย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ ความหนาของกำแพง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ รวมถึงร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้งานเครือข่ายไร้สายทั้งสิ้น
การเชื่อมต่อ เครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure การใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้บริการทั่วไปจะเป็นแบบ Infrastructure คือมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ของผู้ให้บริการเป็นผู้ติดตั้งและกระจายสัญญาณ ให้ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณเรียกว่า "การ์ดแลนไร้สาย" หรือชนิดใหม่จะทำมาเป็นชนิด USB เรียกว่า Wireless USB ( รูปร่างเหมือน ThumDrive ) เป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไป Access Point ของผู้ให้บริการ

สรุปก็คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน ( LAN ) ที่ใช้สายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่ อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณและใช้งานได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง

UploadImage
Wi-Fi คืออะไร
Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่น ที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก

Wireless คืออะไร
Wireless คือลักษณะของการใช้งานอุปกรณ์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แปลตรงตัวว่าไร้สาย ฉะนั้นอุปกรณ์อะไรก็ตามที่ติดต่อสื่อสารกันโดยไม่ใช้สายสัญญาณถือ ว่่าอุปกรณ์นั้นเป็น Wireless เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะเรียกอะไรก็เหมือนๆ กันครับไม่ผิด Wireless ก็ถูกครับ Wi-Fi ก็ถูกครับ

ลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์
Wi-Fi ได้กำหนดลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ภายในเครือข่าย WLAN ไว้ 2 ลักษณะคือโหมด Infrastructure และโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer

โหมด Infrastructure
โดย ทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่าย Wi-Fi จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน WLAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ ( Client Station ) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Desktop, Laptop, หรือ PDA ต่างๆ ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi และสถานีแม่ข่าย ( Access Point ) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น ( ซึ่งโดยปกติจะเป็นเครือข่าย IEEE 802.3 Ethernet LAN ) การทำงานในโหมด Infrastructure มีพื้นฐานมาจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือสถานีผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงกับสถานีแม่ข่ายที่ให้บริการ แก่สถานีผู้ใช้นั้นอยู่เท่านั้น ส่วนสถานีแม่ข่ายจะทำหน้าที่ส่งต่อ ( forward ) ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีผู้ใช้ไปยังจุดหมายปลายทางหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ รับจากเครือข่ายอื่นมายังสถานีผู้ใช้

โหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
เครือ ข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer เป็นเครือข่ายที่ปิดคือไม่มีสถานีแม่ข่ายและไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่าย อื่น บริเวณของเครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc จะถูกเรียกว่า Independent Basic Service Set ( IBSS ) ซึ่งสถานีผู้ใช้หนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับสถานีผู้ใช้อื่นๆในเขต IBSS เดียวกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีแม่ข่าย แต่สถานีผู้ใช้จะไม่สามารถรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอื่นๆได้

UploadImage


ที่มา.http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=571&name=content9&area=

3.ISP คือ ?
ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คืออะไร ISP คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งบางครั้งเรียก ISPs ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน-ผู้เขียน) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4 ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย งานหลักของ ISP ISP : Internet Service Provider คือ บริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก รวมถึงค่าบริการก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึง โดยหลักการพิจารณา ISP นั้น เราต้องดูว่า ISP มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด หน้าที่โดยทั่วไปของ ISP ก็อย่างที่บอกแต่แรกว่าคำว่า ISP มีหลายความหมาย หลายบทบาท ซึ่งแต่ละบทบาทนั้นความรับผิดก็จะแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เนตโดยจะรวมไปถึงบริการ Webhosting ซึ่งหมายถึง บริการให้เช่าพื้นที่ Website และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล Webboard สาธารณะ โดยอาจรวมถึง Webmaster ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บด้วย หน้าที่หลักๆของ ISP ก็คือ การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต การดูแล Website การตรวจสอบข้อมูลที่จะผ่านออกไปลงในเว็บ ผู้ให้บริการ ISP มี 18 แห่งคือ 1.บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด 4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด 5. บริษัท เอเน็ต จำกัด 6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด 7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด 8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด 9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด 10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด 11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด 12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด 15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด 17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด 18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)

4.HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ ลงบนเอกสารที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน cyberspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง
HTML เริ่มขึ้นเมื่อ ปี 1990 เพื่อตอบสนองความต้องการในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของนักวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลก โดย Tim Berners-Lee นักพัฒนาของ CERN ได้พัฒนาภาษาที่มีรากฐานมาจาก SGML ซึ่งเป็นภาษาที่ซับซ้อนและยากต่อการเรียนรู้ จนมาเป็นภาษาที่ใช้ได้ง่ายและสะดวกในการแลกเปลี่ยนเอกสารทางวิทยาศาสตร์ผ่านการเชื่อมโยงกันด้วยลิ้งในหน้าเอกสาร เมื่อ World Wide Web เป็นที่แแพร่หลาย HTML จึงถูกนำมาใช้จนเกิดการแพร่หลายออกไปยังทั่วโลก จากความง่ายดายในการใช้งาน
HTML ในปัจจุบันพัฒนามาจนถึง HTML 4.01 และ HTML 5 กำลังจะออกมาในเร็วนี้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาไปเป็น XHTML ซึ่ง คือ Extended HTML ซึ่งมีความสามารถและมาตรฐานที่รัดกุมกว่าอีกด้วย
โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของ W3C (World Wide Web Consortium)
HTML history

เเหล่งที่มา:http://www.codingbasic.com/html.html

5.GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่)
          GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail
          GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที


6.CDMA คืออะไร
   CDMA ย่อมาจาก Code Division Multiple Access คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยระบบดิจิตอล ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Qualcomm ซึ่งระบบซีดีเอ็มเอนี้ เป็นการสื่อสารกันด้วยสัญญาณที่เข้ารหัสไว้แล้ว ซึ่งจะมีเพียงเครื่องส่งและเครื่องรับเท่านั้นที่จะสามารถถอดรหัสสัญญาณดังกล่าวได้ หรือเปรียบเสมือนการพูดภาษาที่จะเข้าใจเฉพาะผู้ส่งและผู้รับเท่านั่น โดยจะทำหน้าที่แปลงคำพูดเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และส่งผ่านข้อมูลในรูปของสัญญาณวิทยุไปบนเครือข่ายไร้สาย 
   ข้อดีของระบบ CDMA
   1.เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ มีการใช้รหัสที่มีลักษณะเฉพาะในการระบุการโทรแต่ละครั้ง จึงสามารถรองรับผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยไม่เกิดปัญหาสัญญาณหลุด สัญญาณรบกวน หรือคลื่นแทรก 
   2.เทคโนโลยี CDMA คือ มีระบบการรักษาความปลอดภัยสูง ทำให้ไม่สามารถแทรกแซงสัญญาณเพื่อดักฟัง และยากต่อการ clone 
   3.โทรศัพท์ที่ใช้ระบบ CDMA จะมีคุณภาพของเสียงในการสนทนาชัดเจน เนื่องจากเป็นระบบดิจิตอล
   4.CDMA ใช้วิธี Spreading signal คือการแปลงสัญญาณเสียงเป็น Digital และ ขยาย (Spread) ด้วย Code แบบ binary นั้นคือ 0 และ 1 ข้อมูล (แทน Voice หรือ Data) จะถูกขยายด้วย Code จำนวน Bit จะเพิ่มขึ้นก่อนส่งออกอากาศ จึงต้องใช้ช่องสัญญาณที่กว้าง ข้อดีของการ Spreading คือ สัญญาณจะขยายมากขึ้นถึง 21 dB จึงไม่จำเป็นต้องใช้กำลังส่งสูง CDMA มีการควบคุมกำลังส่ง ที่ช่วยให้การส่งสัญญาณเป็นไปอย่างเหมาะสม 
   เทคโนโลยี CDMA ถือเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการสื่อสาร และเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลก

7.คำว่า "บลูทูธ" ชื่อนี้ได้ยินกันมานานอยู่พอสมควร แต่ผมเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า มีหลายท่านเคยใช้ประโยชน์จากมันมาแล้ว และ ทราบรายละเอียดของเจ้าอุปกรณ์ไฮเทคตัวนี้ดีครับ
คำว่า Bluetooth หรือ ฟันสีฟ้า ความจริงแล้วเป็นนามของกษัตริย์ประเทศเดนมาร์ก ที่มีชื่อว่า "Harald Bluetooth" (ภาษาเดนมาร์ก Harald BlÅtand) ในช่วงปี ค.ศ. 940-981 หรือประมาณ 1,000 กว่าปีก่อนหน้า กษัตริย์องค์นี้ได้ปกครองประเทศเดนมาร์กและนอร์เวย์ในยุคของไวกิ้งค์ และต้องการรวมประเทศให้เป็นหนึ่งเดียว นอกจากนั้น ยังทรงเป็นผู้นำเอาศาสนาคริสต์เข้าสู่ประเทศเดนมาร์กอีกด้วย
   
กษัตริย์ Harald Bluetooth ปี ค.ศ. 940-981
และเพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ Bluetooth ผู้ปกครองประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ซึ่งในปัจจุบันเป็นกลุ่มผู้นำในด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และระบบ Bluetooth นี้ ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับโทรศัพท์มือถือ และเริ่มต้นจากประเทศในแถบนี้ด้วยเช่นกัน

  กำเนิด Bluetooth?

ปี 1994 บริษัท อีริคสัน โมบาย คอมมูนิเคชั่น เริ่มต้นที่จะค้นคว้าวิจัยความเป็นไปได้ในการนำคลื่นสัญญาณวิทยุ มาใช้ระหว่างโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ต่างๆ และเป็นผู้นำชื่อ Bluetooth มาใช้
ปี 1998 กลุ่มผู้พัฒนาวิจัยระบบ Bluetooth ได้ถูกก่อตั้งขึ้น โดยเกิดจากการรวมตัวของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Ericsson, Nokia, IBM, Toshiba และ Intel ในกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า Special Interest Group (SIG) ซึ่งในกลุ่มจะประกอบด้วย กลุ่มผู้นำทางด้านโทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ได้ประเมินว่า ภายในปี 2002 ในอุปกรณ์การสื่อสาร, เครื่องใช้, คอมพิวเตอร์ จะถูกติดตั้ง Bluetooth ที่จะใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ อย่างแพร่หลาย
    
โดยในปีเดียวกัน บริษัทเหล่านี้ ได้ประกาศ การรวมตัวกัน และเชิญชวนบริษัทอื่นๆ ให้เข้าร่วม ในลักษณะของการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ โดยในปี 1999 ได้ทำการเผยแพร่ Bluetooth specification Version 1.0 และได้สมาชิกเพิ่มขึ้น ดังนี้ Microsoft, Lucent, 3Com, Motorola

  Bluetooth คืออะไร?

 BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วย

  การทำงานของ Bluetooth?

Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. (กิ๊กกะเฮิร์ซ) แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น
โดยหลักของบลูทูธจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้การขนส่งข้อมูลในจำนวนที่ไม่มาก อย่างเช่น ไฟล์ภาพ, เสียง, แอพพลิเคชั่นต่างๆ และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ขอให้อยู่ในระยะที่กำหนดไว้เท่านั้น (ประมาณ 5-10 เมตร) นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ กินไฟน้อย และสามารถใช้งานได้นาน โดยไม่ต้องนำไปชาร์จไฟบ่อยๆ ด้วย
ส่วนความสามารถการส่งถ่ายข้อมูลของ Bluetooth จะอยู่ที่ 1 Mbps (1 เมกกะบิตต่อวินาที) และคงจะไม่มีปัญหาอะไรมากกับขนาดของไฟล์ที่ใช้กันบนโทรศัพท์มือถือ หรือ การใช้งานแบบทั่วไป ซึ่งถือว่าเหลือเฟือมาก แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ล่ะก็ คงจะช้าเกินไป และถ้าถูกนำไปเปรียบกับ Wireless LAN (WLAN) แล้ว ความสามารถของ Bluetooth คงจะห่างชั้นกันเยอะ ซึ่งในส่วนของ WLAN ก็ยังมีระยะการรับ-ส่งที่ไกลกว่า แต่ขอได้เปรียบของ Bluetooth จะอยู่ที่ขนาดที่เล็กกว่า การติดตั้งทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญ การใช้พลังงานก็น้อยกว่ามาก อยู่ที่ 0.1 วัตต์ หากเทียบกับคลื่นมือถือแล้ว ยังห่างกันอยู่หลายเท่าเหมือนกันครับ

  ประโยชน์ของ Bluetooth?

- คอมพิวเตอร์ กับ โทรศัพท์มือถือ
หากเราต้องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พริ๊นเตอร์ คีย์บอร์ด เม้าท์ หรือลำโพง การเชื่อมต่อในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวเชื่อมต่อทั้งหมด (Serial และ USB) ซึ่งอาจจะไม่สะดวกทั้งในด้านการใช้สอย เคลื่อนย้าย และความเรียบร้อยต่างๆ แต่หากเครื่อง PC มีอุปกรณ์ Bluetooth ก็สามารถติอต่อเข้าหากันได้โดยใช้คลื่นแทนการใช้สายไฟเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด ทั้งการส่งไฟล์ภาพ, เสียง, ข้อมูล อีกทั้งระบบเชื่อมต่อผ่าน CSD และ GPRS บนโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สาย ซึ่งจะช่วยลดความยุ่งยาก อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้นด้วย
แต่ข้อจำกัดการใช้งานก็มีเช่นกัน การเชื่อมต่ออุปกรณ์พกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ค หรือ พ็อกเก็ต พีซี เข้ากับอินเทอร์เน็ต จะสามารถใช้งานได้เพียง 1 อุปกรณ์ ต่อ 1 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งบางทีอาจจะต้องสลับการใช้งานกันบ่อยๆ (สำหรับผู้ที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายซะส่วนใหญ่) แต่ก็ถือว่าให้ความสะดวกมากกว่าการใช้สายเคเบิ้ลครับ



รื่องความหมายคำศัพท์ Web Site, Web page, Homepage, Webmaster, WWW และ TCP/IP

คำศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์


HTMLย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language
เป็นภาษาที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารของหน้า website หรือ ที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ
เป็นภาษาที่พัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) เป็นภาษาที่สำคัญมากกับเทคโนโลยีบนเว็บไซต์ ไม่ว่าคุณจะเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ภาษาใดๆ เช่น PHP, ASP, Perl หรืออื่นๆ คุณก็ต้องมีความจำเป็นในการแสดงผลข้อมูลออกมายัง Web Browser ด้วยภาษา HTML เป็นหลัก หรือให้มองว่า HTML คือ Output ในการแสดงผลสู่จอภาพของ Web Browser
httpย่อมาจาก Hyper Text Transfer Protocol
เป็นโปรโตคอลสื่อสารที่ทำงานอยู่บนระบบโปรโตคอล TCP HTTP ใช้ในระบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web)
ทำหน้าที่ในการจำหน่าย,แจกจ่าย รวมไปถึงการรับข้อมูล จากระบบสื่อกลางชั้นสูง (Hypermedia System) ที่ประกอบด้วยเครื่องให้บริการ (Server) ที่มีอยู่มากมายทั่วโลก
httpsหรือ Hypertext Transfer Protocol Security
คือ ระบบความปลอดภัยของ HTTP protocol สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่อง server และ client
ที่คิดค้นขึ้นโดยบริษัท Netscape เมื่อปลายปี ค.ศ. 1994 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความลับของข้อมูลขณะรับ-ส่ง และเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลนั้นถูกรับ-ส่งระหว่างผู้รับและผู้ส่งตามที่ระบุไว้จริง โดยที่ข้อมูลจะต้องไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปจากเดิมด้วย HTTPS จะทำงานอยู่บนพอร์ต 443 (ค่าปกติ) ด้วยการเพิ่มข้อมูลในส่วนการระบุตัวผู้ส่ง (Authentication) และการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ภายใน HTTP กับ TCP

เวบไซต์ที่ระบุถึงการเชื่อมต่อแบบ Secure HTTP จะขึ้นต้นด้วย https://
และตรงโปรแกรมเว็บบราวเซอร์จะมีรูปกุญแจ เป็นตัวบ่งบอกสถานะว่า ในขณะที่เราใช้บราวเซอร์เรียกดูเว็บเพจใด ๆ ก็ตาม เว็บเพจนั้นใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งหรือไม่ สัญลักษณ์รูปกุญแจแสดงถึงการทำงานของระบบรักษาความปลอดภัย ที่เรียกกันว่า SSL
ISPย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider
หน่วยงานที่บริการ ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป โดยจะรวมไปถึงบริการ Webhosting ซึ่งหมายถึง บริการให้เช่าพื้นที่ Website และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล Webboard สาธารณะ โดยอาจรวมถึง Webmaster ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเวบด้วย
URLย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator
หมายถึงที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในอินเตอร์เนต ซึ่งรูปแบบของ URL จะประกอบด้วย
http://www.urlbookmarks.com/support/urlfaq.htm
ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)
ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www.urlbookmarks)
ประเภทของเวบไซต์ (. com) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือประเภทสากล และ ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้าย
ไดเร็กทอรี่ (/ support/)
ชื่อไฟล์และนามสกุล ( urlfaq.htm)
ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เนตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

Keyword
ความหมาย Keyword ในภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
คือ คำหรือข้อความ ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต พิมพ์ลงไปเพื่อใช้ในการ ค้นหาเว็บไซต์ หรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง Keyword นั้น จะเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายรูป ลักษณะของเอกสารนั้น เช่น ชื่อเรื่อง หัวข้อ หัวเรื่อง รายละเอียดอย่างย่อของเอกสาร เพื่อความสะดวก และความรวดเร็ว ในการสืบค้น เอกสารในข้อมูลระบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาเว็บเพจ ที่อยู่ในฐานข้อมูลของ Search Engine หรือการสืบค้นเอกสารต่างๆ ในระบบของห้องสมุด เป็นต้น
Tagsย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language
คำสั่ง หรือรหัสที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของ TEXTโดยจะมีตัวอักษรอยู่ภายในเครื่องหมาย < และ >
เช่น
<font>, <b>, <i>, <u>, <hr>, <br>, <img> ฯลฯ
wwwคือ World Wide Web หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW)
คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษ
ที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Netscape
blog
ก็คือ Website รูปแบบหนึ่ง ที่มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ
โดยเรื่องใหม่จะอยู่บนสุด ส่วนเรื่องเก่าสุดก็จะอยู่ด้านล่างสุด Blog อาจจะพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นของ ไดอารี่ online ก็เป็นได้ โดย Blog จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ไม่จำกัด ซึ่ง ไดอารี่ ก็ถือว่าเป็น Blog ในรูปแบบหนึ่ง ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย
E-commerceพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร
Spam
คือ Email ที่เป็นขยะที่เราไม่ต้องการ โดยส่งมาจาก Email ที่เราไม่รู้จัก
ซึ่งจะทำให้เราเสียพี้นที่เก็บข้อมูลของเราไปโดยเปล่าประโยชน์ จุดประสงค์ของ Email Spam นั้นผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการโฆษณาบริการต่างๆที่ตัวเองมี
RSSย่อมาจาก Really Simple Syndication
คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
FTPย่อมาจาก File Transfer Protocal
เป็น Protocal คือ มาตรฐานที่กำหนดใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูล หรือการ Upload / Download ข้อมูลบน Internet
โดยเราจะใช้โปรแกรมที่เรียกว่า FTP Client มาช่วยในการ Upload / Download ข้อมูลไปเก็บไว้ที่ Server เช่น โปรแกรม CuteFTP, WS_FTP ฯลฯ
Web Server
บริการ HTTP (HyperText Transfer Protocol) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง
จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่นบริการ http://www.sanook.com หรือ http://localhost เป็นต้น เครื่องบริการ ที่รอรับคำร้องขอจาก web browser ข้อมูลที่จะส่งไปอาจเป็นเว็บเพจ ภาพ หรือเสียง เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ web คือ Apache web server หรือ Microsoft web server
Web 2.0
ก็คือการให้ความหมายของสิ่งที่เปลี่ยนไปของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ซึ่งก็เหมือนกับที่สมัยก่อน
เราเปลี่ยนจากทีวีขาวดํามาเป็นทีวีจอสี โดยกําหนดตัวเลขว่าเ็ป็น generation ที่ 2ของเว็บนั่นเอง สิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ Web 2.0 นั้นก็ เ่ช่น AJAX, Blog, Feeds, Podcast, Social networking ฯลฯ
Ajaxย่อมาจากคำว่า Asynchronous JavaScript And XML
เป็นเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น
โดย การรับส่งข้อมูลในฉากหลัง ทำให้ทั้งหน้าไม่ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มการตอบสนอง ความรวดเร็ว และการใช้งานโดยรวม
Syntax
รูปแบบของ ภาษา ที่เรา เขียนในคอม พิวเตอร์ และ จะนํา algorithm
มาเรียบเรียง ใหม่ ในรูปแบบของแต่ละภาษา
PHPยอมาจาก Personal Home Page
ซึ่งเป็นภาษาสคริปต์ที่ทำงานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า Server Side Script
โดยการทํางานของ PHP จะประมวลผลฝั่งเซิร์ฟเวอร์แล้วส่งผลลัพธ์ไปยังฝั่งไคลเอ็นท์ผ่านเว็บบราเซอร์ เช่นเดียวกับกับ ASP , JSP ทำให้การทำงานมีความปลอดภัยสูง
Aspหรือ Active Server Page
คือ เทคโนโลยีในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับเว็บเพจ พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์
มีจุดเด่นในการใช้พัฒนาและจัดการแอพพลิเคชั่นบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยจะทำงานในลักษณะของโปรแกรมแปลภาษา (Interpreter) ที่ใช้ในการตีความเว็บเพจที่เขียนขึ้นมาโดยใช้ภาษา VBScript, Jscript/JavaScript หรือ Perl ที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นการเขียนแบบ ASP (เริ่มต้นด้วย <% และปิดด้วย %>
Aspx
เป็นนามสกุลของ asp.net
.net
โดเมนเนมสากลที่ทุกประเทศสามารถจดได้ แต่จะต้องสำหรับเว็บไซต์ทางด้านเน็ตเวิร์ก หรือ กลุ่มบริหารเครือข่าย (Network Services) เท่านั้น
E-newsletter
คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
และการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังกลุ่มเป้าหายได้อย่างแม่นยำ นับได้ว่าเป็นการโฆษณาผ่านอีเมล์ไปถึงลูกค้าจึงนับว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โฆษณาได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Component
เป็นการระบุส่วนของโปรแกรมที่ใหญ่กว่า หรือการก่อสร้างโดยปกติ component
ให้ฟังก์ชันเฉพาะหรือกลุ่มของฟังก์ชันที่เกี่ยวข้อง ในการออกโปรแกรมระบบ แบ่งออกเป็น component ที่แสดงในรูปของ module ส่วนการทดสอบ component เป็นการทดสอบความสัมพันธ์ ของ module ทั้งหมดด้วยการสร้าง component เป็นกลุ่มเพื่อทำให้มั่นใจ component หรือ module ทำงานด้วยกัน
Internet
เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล ขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ผ่านระบบสื่อสารต่าง ๆ เช่น ดาวเทียม เคเบิลใยแก้ว (Optic fiber) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
Intranet
เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือน
กันกับอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น
Style Sheetหรือ CSS (Cascading Style Sheets)
คือ ชุดคำสั่งที่ใช้สำหรับการกำหนดการแสดงผลข้อมูลหน้าเว็บพจ เป็นมาตราฐานหนึ่งของ W3C
ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อใช้ในการตบแต่งหน้าเอกสารเว้บเพจโดยเฉพาะ การใช้งาน CSS จะเข้ามาช่วยเพิ่มความสามารถให้กับ HTML เดิมที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ CSS ได้มาอยู่บนมาตราฐานที่เวอร์ชั่น 2.0 (CSS2.0) โดยในปัจจุบันเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งาน CSS กันเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก CSS มีความสามารถในการตบแต่งการแสดงผลข้อมูลหน้าเว็บเพจที่เหนือกว่า HTML โดยปรกติอยู่มาก บางเว็บไซต์ที่เราเห็นกันใน Internet แถบจะเรียกได้ว่าใช้ CSS ล้วน ๆ ในการออกแบบ Layout หน้าเว็บเพจเลยทีเดียว
Web tracking
คือ การติดตามพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์
และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ พร้อมทั้งรายงานผลข้อมูลและสถิติต่างๆ
Web crawler
เป็นโปรแกรมของ Search Engine ในแต่ล่ะที่ ที่ส่งออกไปเก็บข้อมูล ตัวโปรแกรมจะเล็กมาก
คอยทำหน้าที่วิ่งไปเก็บข้อมูลเก็บลิงค์ต่างๆตามเว็บไซต์ทั่วโลก เพื่อเอาข้อมูลกลับไปจัดเก็บ Index Server แล้วทำการประมวลผลตามอัลกอลิทึ่ม ของแต่ล่ะ Search Engine ซึ่งอัลกอลิทึ่มในแต่ล่ะ Search Engine นี้จะแตกต่างกันออกไป อัพเดทกันอยู่เสมอ ไม่มีโครงสร้างตายตัว
Robot engine
โปรแกรมหุ่นยนต์ที่ถูกเขียนขึ้นมาเข้าไปวิ่งหาเว็บไซน์ต่างๆ โดยอัตโนมัติ
และจะเก็บข้อมูลต่างๆ ในทุกๆ หน้า ในเว็บไซต์นั้น ไม่ว่าจะเป็น Title Page, Meta Keywords, Meta Description, Body ของแต่ละหน้ากลับมาไว้ในเครื่องแม่ข่าย แถมยังเก็บURLใหม่ที่พบจากเว็บไซต์ที่ผ่านมาแล้ว และโปรแกรมหุ่นยนต์นี้ จะทำหน้าที่ในการเข้าไปอ่านเว็บไซต์ที่ถูกเก็บมานั้น ด้วยกระบวนการเดิมต่อไป ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ทำให้ปริมาณเว็บไซต์ที่จะตรวจสอบ และเก็บไว้ในฐานข้อมูลนั้นเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ ทุกเวลา ทำให้ข้อมูลมีความหลากหลาย และผลของการค้นหามีความหลากหลายมากขึ้น แต่จะมีข้อเสีย คือ ข้อมูลที่ถูกเก็บโดยโปรแกรมนั้น เราจะต้องมีการมาจัดการอีกครั้งหนึ่งในแบบไดเรกทอรี เพื่อให้เป็นหมวดหมู่ และง่ายต่อการค้นหาแบบตรง (Direct) ต่อไป
Swf
ไฟล์ Flash ที่เป็นไฟล์ที่สมบูรณ์ และถูก compiled และ published
ไฟล์แล้ว ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วย Macromedia Flash ได้อีกต่อไป
Flvคือ"Flash movie" หรือ Adobe Flash (หรือที่เราคุ้นเคยกับชื่อ Macromedia Flash )
เป็นไฟล์จะมีนามสกุลเป็น .swf และ .flv
ซึ่งจะได้จากการ Compile ไฟล์ .fla ที่ถูกสร้างโดย Flash, FreeHand, Generator, and other tools นั่นเอง โดยจะถูกสร้างขึ้นมาในการนำเสนอ แอนิเมชัน และ อินเตอร์แอกทีฟ ในเว็บเพจ และในโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมระบบ และ เครื่องมือต่างๆ ที่มีความสามารถในการแสดง แฟลชได้ และ แฟลชยังเป็นที่นิยมในการใช้สร้าง แอนิเมชั่นโฆษณาออกแบบส่วนต่างๆ ของเว็บเพจใส่วิดีโอบนเว็บ และอื่นๆ
Web service
คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย
โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือเอกซ์เอ็มแอล เว็บเซอร์วิสมีอินเทอร์เฟส ที่ใช้อธิบายรูปแบบข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลได้ เช่น WSDL ระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานสื่อสารโต้ตอบกับเว็บเซอร์วิสตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้แล้ว โดยการส่งสาสน์ตามอินเตอร์เฟสของเว็บเซอร์วิสนั้น โดยที่สาสน์ดังกล่าวอาจแนบไว้ในซอง SOAP หรือส่งตามอินเตอร์เฟสในแนวทางของ REST สาสน์เหล่านี้ปกติแล้วถูกส่งโดยอาศัย HTTP และใช้ XML ร่วมกับมาตรฐานเกี่ยวกับเว็บอื่นๆ โปรแกรมประยุกต์ที่เขียนโดยภาษาต่างๆ และทำงานบนแพลตฟอร์มต่างๆกันสามารถใช้เว็บเซอร์วิสเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์Hacker
Cracker
คือ ผู้ที่หาทางเจาะเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆโดยไม่ได้รับอนุญาต
อาจจะเพื่อความสนุก หรือเพื่อการโจรกรรมและทำลายข้อมูลเป็นคำที่ใช้แทนคำว่า แฮกเกอร์ เพื่อให้คำว่าแฮกเกอร์ยังคงความหมายเดิมว่าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมและแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ได้เก่ง
Pocket PC
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาแบบ PDA เพื่อใช้สำหรับการคำนวน เก็บข้อมูล ถ่ายรูป โทรศัพท์ รวมทั้งเล่นเกมส์
โดยสามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเข้าไปได้ เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ แต่จะแตกต่างจากเครื่องปาล์มตรงที่ Pocket PC จะใช้ระบบปฏิบัติการค่ายไมโครซอฟท์เป็นหลัก เช่น Window CE จึงทำให้ผู้ใช้งานพ็อกเก็ตพีซีที่คุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์มาก่อน สามารถใช้งานได้ง่ายมาก แต่จะกินกำลังของเครื่องมากกว่าเครื่องปาล์ม
Firewall
คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย
Bandwidth
คือ ความกว้าง หรือ ช่วงขนาดของข้อมูล กล่าวคือ สามารถที่จะส่งและรับได้ไม่เกินที่กำหนดไว้
เปรียบได้กับการจราจร เช่น ถ้ามี 4 เลน ก็เหมือนมี bandwidth 4
Freeware
หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย
(เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้า
Shareware
คือ โปรแกรมที่ถูกจำกัดความสามารถไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้โปรแกรม
โดยหากสนใจใช้โปรแกรมอย่างครบทุกความสามารถ จึงจ่ายเงินเป็นค่าลงทะเบียนให้ผู้พัฒนาโปรแกรม ประโยชน์ของการขายโปรแกรมด้วยวิธีนี้คือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสียเงินก็สามารถใช้โปรแกรมได้ และยังได้สร้างความคุ้นเคยในการใช้งานให้ผู้ใช้ด้วย รวมถึงเป็นการแนะนำสินค้าที่ดีวิธีหนึ่ง ส่วนความสำเร็จของผู้เขียนโปรแกรมแชร์แวร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้ใช้ที่ทดลองใช้โปรแกรมไปแล้วตัดสินใจลงทะเบียน Commercial Product
Home Page
คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web)
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวน
Upload
คือ การที่เราเอาข้อมูลของเราไปฝากไว้ใน web ที่มีการเปิดให้ upload
จากนั้นก็จะมีคนเข้าไป download ข้อมูลนั้นไปใช้งานได้ หรือเป็นการส่งข้อมูลจาก Client ไปยัง Server สรุปคือถ้าเราส่งข้อมูลออกไป เรียกว่า การ Upload
Download
คือ การโอนย้ายไฟล์หรือข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่ง
เช่น การโอนไฟล์หรือว่าข้อมูลมาจาก อินเตอร์เนต หรือว่า จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เข้ามาบันทึกเอาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในทางกลับกัน ถ้าเราจะนำไฟล์หรือข้อมูลของเรา ไปบันทึกไว้เครื่องอื่น ที่มีการเชื่อมต่อกันมากกว่า 2 เครื่อง สรุปถ้าเรารับข้อมูลมา เรียกว่า การ Download การรับข้อมูลจาก Server มาเก็บไว้ที่ Client
Search engine
คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย Search engine ส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน Search engine บางตัว เช่น google จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหา
Address
คือ ตำแหน่งที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งในเรื่องอินเตอร์เน็ตนำคำนี้มาใช้ในหลายความหมาย ได้แก่

ตำแหน่งบนเครื่องแม่ข่ายอินเตอร์เน็ต (IP Address)
ไฟล์ที่ระบุ (เช่น เว๊บเพจ) หรือเรียกว่า file (หรือ homepage ) address
ชื่อผู้ใช้อีเมล์ (E-mail Address)
Link
คือ หัวข้อต่าง ๆ หรือส่วนที่สามารถเชื่อมโยงหรือว่าคลิกไปยังเวบไซต์
หรือ ไปยังรายละเอียดที่ระบุเอาไว้ ผู้ใช้จะต้องใช้เมาส์เลื่อนไปคลิก ยังลิงก์ที่ต้องการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ มักจะมี "การขีดเส้นใต้" ไว้ และถ้าผู้ใช้เลื่อนลูกศรเมาส์ ไปอยู่บนลิงก์ ลูกศรเมาส์ก็จะเปลี่ยนเป็นรูปมือที่ยื่นนิ้วชี้ออกมา บนหัวข้อนั้น ๆ
Domain name
คือ ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำ
และนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบ Domain name System ที่สามารถแก้ไข IP Address ของชื่อโดเมนเนมนั้นๆได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำ IP Address ที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
DNSย่อมาจากคำว่า Domain Name System
เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น
เพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP address หรือทำกลับกันได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเพิ่มเติมอื่นๆ อีก เช่น แจ้งชื่อของอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใน domain ที่รับผิดชอบด้วย ในระบบ จะมีการกำหนด name space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีกลไกการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย ทำงานในลักษณะของไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)
TCP/IP
คือ การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น
จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้ ในระบบอินเทอร์เน็ต จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP
Wi Fi
คือ องค์กรหนึ่งที่ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless LAN หรือระบบ Network
แบบไร้สาย ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งอุปกรณ์ทุกตัวที่ต่างยี่ห้อกันนั้นจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ประสบปัญหา หากอุปกรณ์นั้นผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานก็จะมีการประทับตรา Wi-Fi Certified ซึ่งหมายความว่า อุปกรณ์ตัวนี้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ อุปกรณ์อื่นที่มีตรา Wi-Fi Certified ได้ แล้วจึงกลายมาเป็นคำศัพท์ของอุปกรณ์ LAN ไร้สาย
Web hosting
คือ รูปแบบการให้บริการที่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการสามารถนำ website ของตนเองขึ้นไป online บน internet
ได้ ทุก website ที่ online บน internet จะต้องได้รับการฝาก หรือเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า web server ซึ่ง web server นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวติดต่อกับทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ website ของคุณสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาในโลกที่มีการต่อเชื่อม internet โดยแค่พิมพ์ชื่อ web site ของคุณ (Domain Name) ซึ่งอย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบ web server เป็นของตนเองสามารถทำได้ แต่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคดูแล ดังนั้นบริษัทส่วนใหญ่จะไม่ดำเนินการลงทุน เพื่อเป็นเจ้าของเอง และนี่คือที่มาของบริการ web hosting
Web base application
ก็คือ Application ที่ทำงานบน Web Server อย่าง e-mail ที่เราใช้หรือ web board
ก็ถือว่าเป็น Web Base Application เหมือนกัน ข้อดีของการเขียน Application บน Web Baseก็คือ ติดตั้งที่ Server ที่เดียว ใครจะเรียกใช้กี่คนก็แค่มี computer แล้วก็มีโปรแกรม Browser อย่าง Internet Explorer
Web design
คือ การออกแบบและวางแผนการแสดงผล และการจัดวางข้อมูลต่างๆ ของเว็บไซต์
ให้เกิดความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการแสดงเนื้อหาหรือข้อมูลต่างๆ แก่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย และเกิดความน่าสนใจเนื้อหาทั้งเว็บให้มากที่สุด
Cmsหรือระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System : CMS)
คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development)
และบริหาร(Management) เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลเว็บไซต์
Web template
คือ รูปแบบเว็บไซต์สำเร็จรูปหรือเว็บไซต์อัตโนมัติ
ที่ยังไม่มีการใส่เนื้อหาเข้าไป คล้ายๆกับ แบบฟอร์ม จดหมายที่มีหัวกระดาษ มีรูป Logo ตกแต่ง ไว้เรียบร้อยแล้ว ท่านเพียงแต่ เปลี่ยนรูป หรือ ใส่เนื้อหาที่ต้องการเข้าไป ซึ่งเหมาะสมสำหรับผู้ที่ไม่มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือทำเว็บ เช่น Flash หรือ Graphic ต่างๆ
Xmlย่อมาจากคำว่า Extensible Markup Language
เป็นภาษาที่ใช้กำหนดรูปแบบของคำสั่งภาษา HTML หรือที่เรียกว่า Meta Data
ซึ่งจะใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของคำสั่ง Markup ต่าง ๆ XML จะเกิดประโยชน์เต็มที่เมื่อนำมาใช้งานร่วมกับ HTML เนื่องจาก XML มีความพร้อมในแง่ของรายละเอียด การนำข้อมูล ตลอดจนโครงสร้างข้อมูลมาแสดงในรูปแบบ Text ผ่านทาง HTTP และมีความสามารถในการจัดข้อมูล ซึ่งการเขียน Web page โดยใช้ HTML ผู้พัฒนาสามารถกำหนดได้ว่าส่วนไหนจะเป็นตัวหนา ตัวเอียง หรือตัวอักษรเป็นแบบไหน ส่วน XML นั้นจะเป็นการเตรียมส่วนของข้อมูลที่จะนำไปใส่ในช่องที่กำหนดตามการเขียนของ HTML เช่น ข้อมูลราคา หรือราคาที่ตั้งสำหรับการจัดรายการส่งเสริมการขาย อัตราภาษี ค่าขนส่ง เป็นต้น
E-mail
คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail, ย่อ e-mail หรือ email)
คือวิธีการในการเขียนส่ง หรือรับข้อความผ่านทางเครือข่ายเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ คำว่า อีเมลใช้ใน 2 ความหมาย รวมถึงการส่งข้อความผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยผ่านทาง SMTP และการส่งข้อความภายในเครือข่ายของบริษัทหรือองค์กรโดยผ่านทางระบบมาตรฐานที่ต่างกันออกไป
Sessionย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language
คือ ข้อมูลที่ web application ใช้ทำการจัดเก็บตรวจสอบข้อมูลของผู้เข้ามาใช้งานเว็บนั้น ๆ
เรานิยมใช้ Session สำหรับการติดตาม user ใน ระบบ login เพื่อตรวจสอบความคงอยู่ของ user รายนั้น ๆ ในระบบขอเรา
Visitor
คือ ผู้เข้าชมเว็บไซต์ เป็นผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่ตั้งค่าของบราวเซอร์ให้ยอมรับ cookies
บริการ tracking ของ Opentracker จึงเลือกใช้ cookies เพื่อทำการติดตามพฤติกรรมการเข้าชม เว็บไซต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ดังนั้น ผู้เข้าชมเว็บไซต์ (visitor) ในที่นี้ จึงหมายถึงพฤติกรรมของบุคคล หรืออาจจะเรียกได้ว่า การกระทำอันเกิดจากบุคคลนั่นเอง เนื่องจากมีเพียงผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตที่แท้จริงเท่านั้นที่จะสามารถใช้จาวาสคริปเพื่อใช้อินเทอร์เน็ตได้ และในกรณีที่บราวเซอร์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ปฏิเสธ cookies ซึ่ง Opentracker ก็จะใช้หมายเลข IP ของเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้แทน cookies เพื่อใช้ในการติดตามพฤติกรรมการเข้าชมเว็บไซต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์
Page view
การนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์โดยนับจากจำนวนหน้าเว็บไซต์ที่ผู้เข้าชมได้ทำการ เข้าชม
โดยไม่คำนึงถึงจำนวนครั้งของการร้องขอของบราวเซอร์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ เนื่องจาก หน้าเว็บไซต์ 1 หน้าอาจจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลมากกว่า 1 แฟ้มข้อมูล ดังนั้น เมื่อมีผู้เข้าชม เว็บไซต์ได้ทำการเข้าชมหน้าเว็บไซต์เพียง 1 หน้าก็อาจก่อให้เกิดจำนวนครั้งของการร้องขอ ของบราวเซอร์ไปยังเซิร์ฟเวอร์เป็นจำนวนมากได้ เพราะผู้เข้าชมเว็บไซต์อาจเข้าชมแฟ้มข้อมูลที่เป็น รูปภาพหรือกราฟฟิกในหน้าเว็บไซต์หน้านั้นๆ นั่นเอง
W3Cเป็นชื่อย่อของ World Wide Web Consortium
จัดตั้งขึ้นมาในเดือนตุลาคม ปี 1994 ขององค์กรนานาชาติ มีองค์กรสมาชิกมากกว่า 450 องค์กร ที่เรารู้จักกันดี
เช่น Apple,Google, Microsoft, Sun Microsystems จัดตั้งขึ้นเพื่อที่ต้องการเห็นเว็บไซต์ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด W3C จัดตั้งขึ้นมาโดย Tim Berners-Lee ผู้พัฒนาคิดค้นระบบอินเทอร์เน็ต จุดประสงค์เพื่อพัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ที่เรียกว่า W3C Recommendations
WYSIWYGย่อมาจาก What you see is what you get
คือ ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ที่สามารถมองเห็นผลลัพธ์ไปพร้อมๆกัน
กับขั้นตอนในการสร้าง Source code ยกตัวอย่างเช่นโปรแกรม Macromedia Dreamweaver เป็น WYSIWYG
Csvย่อมาจาก Comma-Separated Value
ซึ่งเป็น text file ธรรมดา สามารถแก้ไขด้วย text editor
และประมวลผลในโปรแกรม spreadsheet ได้ทันที โดยจะมี Comma ',' เป็นตัวคันระหว่างข้อมูล





1.อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

2.อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟร์วอลล์สำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้

3.โดเมนเนม (Domain Name) โดเมนเนมในอินเตอร์เน็ต ชื่อโดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องเที่ยวไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ เช่นเว็บไซต์ของเนคเทค มีหมายเลข IP คือ 202.44.204.33 ซึ่งยากต่อการจดจำ (ในกรณีที่ต้องจำหลายเว็บไซต์) ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.nectec.or.th ซึ่งก็คือ "ชื่อโดเมน" นั่นเอง ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ยังใช้ IP Address ดังนั้น ระบบจึงมีการติดตั้งโปรแกรม และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัว Lookup หรือดัชนี ในการเปิดดูบัญชีหมายเลข จากชื่อที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า Domain Name โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า Domain Name Server หรือ Domain Server ชื่อโดเมน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานรับผิดชอบการจดทะเบียนชื่อโดเมน เช่น ประเทศไทย รับผิดชอบโดย "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย - THNIC : Thailand Network Information Center"

4.Host ความหมายหลายลักษณะซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อย 1. บนอินเตอร์เน็ต คำว่า host หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงแบบสองทาง (two way access) อย่างเดิมที่ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในอินเตอร์เน็ต host มีการเจาะจงด้วยหมายเลขของ local หรือ host พร้อมกับหมายเลขของเครือข่ายในรูปของ IP address แบบไม่ซ้ำ ถ้าใช้การติดต่อโปรโตคอลแบบ point-to-point ไปยังผู้ให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมี IP address แบบไม่ซ้ำ ตลอดช่วงการติดต่อในครั้งนั้นกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องดังกล่าวมีฐานะเป็น host ในระยะเวลานั้น ดังนั้น host จึงเป็น node ในเครือข่าย 2. ใน IBM และระบบคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม host คือเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมทำให้ความหมายนี้คือ เครื่องเมนเฟรมมีเครื่องลูกข่ายที่ติดต่อและการใช้บริการจาก host 3. ในความหมายอื่น ๆ คำนี้โดยทั่วไปหมายถึงอุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่เป็นผู้ให้บริการกับอุปกรณ์ หรือโปรแกรมที่มีความสามารถต่ำกว่า

เเหล่งที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95,http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95,http://www.ireallyhost.com/kb/domain/58,http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/1125-host-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์


บทที่ 2 เรื่องการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้ภาษาเป็นสื่อในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และสามารถใช้เทคโนโลยีสำหรับการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสมโดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง
 
1.     ผู้ส่ง  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ  ซึ่งอาจเป็น
บุคคลหรืออุปกรณ์  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  เป็นต้น
          2.  ข้อมูลข่าวสาร  เป็นสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับที่อยู่ปลายทางซึ่งอาจเป็นเสียง  ข้อความหรือภาพ  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
          3.  สื่อกลาง  หรือช่องทางการสื่อสาร  เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้โดยสะดวก  ซึ่งมีหลายรูปแบบ  ดังนี้
                   *  สายสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  เส้นใยแก้วนำแสง  เป็นต้น
                   *  คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ  เช่น  คลื่นวิทยุ  คลื่นไมโครเวฟ  คลื่นแสง  คลื่นอินฟราเรด
                   *  อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ  เช่น  เสาอากาศวิทยุ  เสาอากาศโทรศัพท์  ดาวเทียม  โมเด็ม
          4.  ผู้รับ  เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง  ซึ่งส่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  โทรศัพท์  โทรทัศน์  วิทยุ  เป็นต้น
การที่จะส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น  จะขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งที่กล่าวมาแล้วไม่ได้  และต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์และวิธีการให้เหมาะสมกับลักษณะงาน 
5. โปรโตคอล (Protocolเป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ชนิดของการสื่อสาร
                การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น ประเภท
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่งe-mail เป็นต้น
2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission)
สามารถส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปให้แก่ผู้รับ ส่วนผู้รับก็สามารถโต้ตอบกลับได้ แต่ไม่สามารถส่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน  เช่นการส่งวิทยุของตำรวจ



 3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission)
สามารถส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ได้ทั้ง2ทิศทาง ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่งและผู้รับ สามารถโต้ตอบสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การส่งสัญญาณโทรศัพท์  สนทนา msn , feaebook


ประเภทของสัญญาณ
ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งสามารถจำแนกสัญญาณได้ 2ลักษณะ
1.       สัญญาณแบบดิจิทัล(Digitals signal)
เป็นสัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete)โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล
  


2.       สัญญาณอนาลอก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแบบทันที่ทันใดเหมือนกับสัญญาณดิจิทัล เช่น เสียงพูด หรืออุณหภูมิในอากาศเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง






   ตาราง พัฒนาการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.
เทคโนโลยี
รายละเอียด
2380
โทรเลข (telegram)
เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบแรก ประดิษฐ์ขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการส่งข่าวสาร
2453
เครื่องโทรพิมพ์ (teleprinter)
เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบเดียวกับโทรเลข แต่สามารถพิมพ์ข้อความที่ได้รับลงกระดาษได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปชื่อ เทเล็กซ์ (TELEX)ส่วนใหญ่ในอเมริกาเรียกว่า TWX
2487
มาร์ค 1 คอมพิวเตอร์
(Mark I- Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก สร้างโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้หลอดสุญญากาศ ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
2503
ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของสหรัฐอเมริกา (first U.S.satellite)
ชื่อว่า เอคโค 1 (Echo 1) ถูกสร้างขึ้นเพื่อการทดสอบระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมเท่านั้น ซึ่งดาวเทียมเป็นโลหะมีรูปทรงกลม สามารถสะท้อนคลื่นไมโครเวฟที่ส่งมาจากจุดใดจุดหนึ่งบนพื้นโลกไปยังอีกจุดหนึ่งได้
2513
เลเซอร์ (laser)
คิดค้นโดย ทีโอดอร์ ไมแมน(Theodore Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ์ (Hughes Research Labaratories) เป็นลำแสงขนานที่มีความเข้มสูง และมีความยาวคลื่นที่ตายตัว ซึ่งในช่วงแรกของการวิจัยมีแนวโน้มเพื่อนำไปใช้ทางการทหาร
2514
อีเมล (e-mail)
มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายโดยเรย์ ทอมลินสัน (Ray Tomlinson)
2515
อีเทอร์เน็ต (thernet)
บริษัท ซีร็อกซ์ (Xerox) ได้สร้างมาตรฐานสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN)ขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่เป็นมาตรฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด




2519
พีซี (personal computer:PC)
คิดค้นขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกสบาย
2526
อินเทอร์เน็ต(Internet)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก โดยเครือข่ายดังกล่าวจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมภายในเครือข่ายดังกล่าวอาจจะแตกต่างชนิดหรือต่างขนาดกันก็สามารถสื่อสารกันได้
2527
เซลลูลาร์(cellular)
ระบบโทรศัพท์ไร้สายแบบเซลลูลาร์ได้เข้ามาแทนที่ระบบโทรศัพท์ไร้สายแบบใช้คลื่นวิทยุ
2533
ปรับปรุงระบบอาร์พาเน็ต (ARPANET Reorganization)
เครือข่ายอาร์พาเน็ตถูกยกเลิกและถูกแทนที่ด้วยระบบเครือข่ายไร้สายระดับชาติ
2535
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wild Web)
เป็นการบริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน
2541
โทรทัศน์แบบ HDTV
เป็นโทรทัศน์ที่มีความละเอียดสูง ให้ภาพคมชัดมากกว่าปกติ เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
2543
ระบบสื่อสารแบบไร้สาย (wireless technology)
ระบบสื่อสารแบบไร้สายเริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น
2545
ระบบสื่อสารแบบบรอดแบนต์(broadband access)
บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยี Asymmetric Digital Subscriber Line (ADSL) นั่นคือ การสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงบนข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์
 
2.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามการเชื่อมโยงได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้
2.1  เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น เช่น Bluetooth ตัวอย่าง เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง PDA กับ Desktop โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น


          PDA ย่อมาจาก Personal Digital Assistant หมายถึง คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ มีโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Spread Sheet ต่างๆ ช่วยจดบันทึก และการนัดหมายต่างๆ   (Palm)
เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)

2.2  เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในอง๕การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย
2.3 เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยง
แลนที่อยู่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาหาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสงสายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ


2.4  เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น

3.  โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อกันโดยตรงได้ ดังนั้น จึงต้องการมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตรฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
3.1  โพรโทคอล  (protocol)  คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละ
โพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ โพรโทคอลนี้เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและการรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้กว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใช้มาตรฐานโพรโทคอลต่าง ๆ ร่วมกันทำงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้
การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น
1)      โพรโทคอลเอชทีทีพี (Hyper Tex Transfer Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hyper Text Markup Language : HTML) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องแม่ข่าย (web server) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี (Transfer Control Protocol : TCP)
2)      โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transfer Control Protocol/Internet Protocol : TCP/IP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่
3)      โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP) คือ โพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail) หรืออีเมล (Email) ไปยังจุดหมายปลายทาง
4)      บลูทูท (Bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อได้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก
 ปัจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย นอกจากโพโทคอลที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี (File Transfer Protocol : FTP)การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นทีพี (Network News Transfer Protocol : NNTP)เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆขึ้นใช้งาน ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโพรโทคอลต่างๆ หลายโพรโทคอลร่วมกัน
3.2  อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีดังนี้
1)      เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้ ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย

2)      ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่อยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น

3)      บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น แต่หากข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่เครือข่ายอื่น ก็จะส่งข้อมูลไปในเครือข่ายที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4)      อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า ตรงที่สามารถหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล (data packer) ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้
5)      สวิตช์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตช์จะทำหน้าที่รับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนหรือความคับคั่งของข้อมูล
6)      เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถแปลงรูปแบบแพ็กเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้ เพื่อให้เหมาะสามกับการใช้งานในเครือข่าย ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่ในปัจจุบันนี้ได้รวมการทำงานของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง(router) แล้ว ทำให้อุปกรณ์จัดเส้นทางสามารถทำงานเป็นเกตเวย์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเกตเวย์อีก
 4.  เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้
4.1  เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิด
ของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
1)      สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้น ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับส่งข้อมูลดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดังนี้
1.       แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
2.       แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair) 
สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูป


รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)           ข้อดีของสาย UTP 
ราคาถูก
ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
                               - มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของสาย UTP
                             - 
ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกล มาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย(มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร) 
 สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสายUTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมาก ขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTPคือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก



รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)                ข้อดีของสาย STP 
                           
ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
                            - ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
ข้อเสียของสาย STP 
                          
มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
                           - ราคาแพงกว่าสาย UTP

1)      สายโคแอซ์ก (coaxial cable) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอะนาล็อก 

 

 2)      สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable) หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสนิกขนาดเล็กภายในกลวง หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟิก เสียง หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสีย เนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยแก้ว นำแสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง

 4.1  เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณซึ่งสามารถแบ่งตามช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้
1)      อินฟราเรด (infrared) เป็นลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1-2 เมตร ความเร็วประมาณ 4-16 เมกะบิตต่อวินาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น

2)      คลื่นวิทยุ (radio frequency) ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) เอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM) การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย (Wi-Fi) และบลูทูท
 3)      ไมโครเวฟ (microwave) จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานนีที่ทำหน้าทีส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูง ยอดเขา เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร
  4)      ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลกซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ
5.  ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1.   ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก(diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาที จะทำให้สามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลาเพียง 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2.   ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูล หากมีข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3.   ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4.   ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น เช่น การใช้อีเมล์ส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
5.   สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่าย ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน ไม่ต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน กระจัดกระจายกันไปในคอมพิวเตอร์ทุกแผนก ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่ข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากส่วนกลางได้ทันที
6.   การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์นั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย แต่สามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบ เช่น สามารถให้เครื่องพิมพ์ตัวเดียว ซึ่งต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายรับคำสั่งในการพิมพ์งานจากทุกๆ เครื่องในเครือข่ายได้ทันที เป็นต้น
7.   การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มงานเดียวกันได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือในระบบงานเอกสารชนิดหนึ่งอาจจะต้องผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตัวเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูลของเอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายทำขั้นตอนต่อไป  เป็นต้น


ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software) หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงาน DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอ WINDOWS เป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 และ MS Windows 2000 ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอดอสใหม่ ๆ ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์ Mac OS (แมค โอเอส) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัทแอปเปิลแมคอินทอชโอเอสถูกเปิดตัวออกมาครั้งแรกในปี 1984 ลักษณะที่เด่นของระบบปฏิบัติการประเภทนี้คือ มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าระบบปฏิบัติการดอส เนื่องจากคำสั่งต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของเมนู และมีรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน ที่ใช้แทนโปรแกรมหรืองานผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนู หรือไอคอนเพื่อเรียกคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาทำงานได้ แทนการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์เหมือนดอส แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา ไอโอเอส (IOS) โดยมีชื่อเดิมที่เรียกกันคือ ไอโฟนโอเอส (iPhone OS) คือระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟนของบริษัท แอปเปิล (Apple Inc.) เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในโทรศัพท์ไอโฟน (iPhone) และต่อมาได้มีการพัฒนาต่อเพื่อใช้สำหรับไอพอตทัช (iPod touch) และไอแพด (iPad) ซึ่งระบบ IOS สามารถเชื่อมต่อไปยัง Apps Store สำหรับการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฎิบัติการ IOS หรือที่เรียกกันว่า IOS Application หรือ IOS Apps ซึ่งมีการแบ่งเป็นหมวดการใช้งานสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ไอโฟนสามารถทำการโหลด IOS App มาใช้งานได้ตามต้องการ และนอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนา IOS Apps สำหรับใช้งานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ระบบ IOS อีกมากมาย Symbian คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ช่วยในการส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง ช่วยประหยัดพลังงาน และใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก เพื่อรองรับกับโทรศัพท์มือถือทั้งในปัจจุบันและอนาคต วินโดวส์โฟน (Windows Phone) เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011 เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์ แหล่งที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson3-1.as